หน้าเว็บ

a

เคล็ดลับการเขียนเอกสารการวิจัย (Wrtting Article ,Journal and Research paper)

เคล็ดลับการเขียนเอกสารการวิจัย  (Wrtting Article ,Journal and Research paper) 
เอกสารการวิจัยเป็นการเขียนเอกสารทางวิชาการ ในการเขียนนักวิจัยต้องดำเนินการตามรูปแบบและวิธีการตามที่ระบุ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและสื่อสารได้ง่ายและสะดวก เอกสารการวิจัยหลัก ได้แก่ รายงานการวิจัยที่นักวิจัยเขียนขึ้นเพื่อรายงานการดำเนินงานวิจัยและผลการวิจัยที่ได้รับ และบทคัดย่อการวิจัยที่นักวิจัยเขียนขึ้นเพื่อสรุปสาระสำคัญโดยสังเขปเพื่อให้ง่ายต่อการสืบค้นของผู้สนใจงานวิจัย
1.ชื่อเรื่องการวิจัย
        ชื่อเรื่องเป็นการให้กรอบการวิจัยครั้งนี้ในระดับกว้างเพื่อให้มองเห็นแนวทางและทิศทางของการวิจัยนั้น
1.1 .รูปแบบการเขียน  ชื่อเรื่องการวิจัยเขียนให้ประกอบด้วย(ก)วิธีศึกษา (ข)ประเด็นหลักหรือตัวแปรหลักและ(ค)ขอบเขตด้านประชากร เวลาหรือพื้นที่
ตัวอย่างเช่น   
             ชื่อเรื่องที่1  การวิเคราะห์ผลตอบแทนของการปลูกแตงโมนอกฤดูกาล

1.2 หลักการเขียน  การเขียนชื่อเรื่องมีหลักการทั่วไปดังนี้
(ก) เขียนให้กว้างพอเห็นเป็นแนวทางมีความยาวหนึ่งบรรทัด
(ข) เขียนให้สอดคล้องกับปัญหาที่ต้องการวิจัย
(ค) เขียนเป็นคำนาม ขึ้นต้นด้วยคำว่า การ
(ง) เขียนให้มีวิธีการศึกษา เช่น การเปรียบเทียบ การวิเคราะห์
(จ) เขียนให้มองเห็นวิธีการวิจัยเช่นการทดลอง การสำรวจ
(ฉ) เขียนให้มีขอบเขตด้านประชากร พื้นที่ เวลา

2.การเขียนสาระประจำบท
        รายงานการวิจัยเขียนให้ประกอบด้วยสาระสำคัญ 5 บท แต่ละบทจะนำเสนอสาระสำคัญต่อเนื่องกัน อย่างเชื่อมโยง ต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน เพื่อตอบปัญหาการวิจัยหนึ่งเรื่อง
1.1   .รูปแบบการเขียน สาระสำคัญของรายงานการวิจัยแบ่งออกเป็น 5บท คือ
บทนำ การสำรวจวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัยและสรุปผล
        ตัวอย่างเช่น   สารบัญของรายงานการวิจัย เรื่อง การวิเคราะห์
ผลตอบแทนของการปลูกแตงโมนอกฤดูกาล  
                            บทที่บทนำ
                            บทที่2 ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                            บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย
                            บทที่4 ผลการวิจัย
                            บทที่5 สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ

         จากตัวอย่างข้างบน สามารถวิเคราะห์ตามรูปแบบได้ดังนี้  

สาระสำคัญ
ตัวอย่าง
บทนำ
บทที่บทนำ
การสำรวจวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
บทที่2 ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัย

วิธีดำเนินการวิจัย 
บทที่3 วิธีดำเนินการวิจัย
 ผลการวิจัย
บทที่4 ผลการวิจัย
 สรุปผล
บทที่5 สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ

1.2 หลักการเขียน  การเขียนสาระสำคัญมีหลักการทั่วไปดังนี้
() เขียนให้มีสาระสำคัญครบถ้วน
() เขียนให้เชื่อมโยงสอดคล้องสัมพันธ์กัน
() เขียนให้เป็นเหตุเป็นผลงาน
() เขียนให้มีส่วนประกอบหน้าและหลังครบถ้วน