SPSS มาจากคำเต็มว่า Statistical Package for Social Science เป็นโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อการวิจัย
การวิเคราะห์หาสถิติพื้นฐาน (Basic Statistic)
การสร้างตารางแจกแจงความถี่แบบทางเดียวเป็นการแจกแจงข้อมูลตามลักษณะใดลักษณะหนึ่งของข้อมูลเพียงลักษณะเดียว หรือจำแนกค่าของข้อมูลโดยใช้ตัวแปรตัวเดียว เช่น เพศ อายุ รายได้ต่อเดือน
ส่วนใหญ่หาค่า เฉลี่ยน (Mean) , ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)
การแจกแจงความถี่แบบ Multiple Response
เป็นการแจกแจงความถี่สำหรับตัวแปรที่มีค่าได้หลายลักษณะ คือมีการตอบมากกว่า 1 ข้อ เช่น พฤติกรรมการใช้ พฤติกรรมการสังเกตรายการทีวีช่วงเวลา หรือกรณีชอบสีอะไรเป็นพิเศษ เป็นต้น ส่วนใหญ่หาค่าเฉลี่ยน (Mean,S.D) หรืออาจไปสู่การหาความสัมพันธ์ทางสถิติก็ได้
การหาค่าสถิติเบื้องต้นจำแนกได้ 4 วิธี
1. การหาค่าแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง (Central Tendency)
1.1 ค่าเฉลี่ย (Mean) เช่น
ค่าเฉลี่ยแบบเลขคณิต (Arithmetic Mean or Average, A.M),
ค่าเฉลี่ยแบบเรขาคณิต (Geometric Mean, F.M),
ค่าเฉลี่ยแบบฮาร์โมนิก (Harmonic Mean, H.M)
1.2 ฐานนิยม (Mode)
1.3 ค่าแสดงตำแหน่งของข้อมูล (N-Tiles) เช่น มัธยฐาน (Median), ควอไทล์ (Quartiles),
เดไซล์ (Deciles) และเปอร์เซ็นต์ไทล์ (Percentiles)
2. การหาค่าการกระจายข้อมูล (Dispersion)
2.1 พิสัย (Range)
2.2 ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ (Quartile Deviation)
2.3 ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย (Mean Deviation)
2.4 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviaion)
2.5 สัมประสิทธิ์ของการแปรผันหรือการกระจาย (Coefficient of Variation)
3. การหาค่าคะแนนมาตรฐาน (Standard Score)
4. การหาค่าแสดงรูปร่างของโค้งความถี่ (Frequencies Curve, Distribution)
4.1 โค้งปกติ (Normal Curve)
4.2 โค้งเบ้ (Skewness Curve) เช่น โค้งเบ้ซ้าย, โค้งเบ้ขวา