หน้าเว็บ

a

ทฤษฎีของกินซ์เบิร์ก (Ginzberg’s Theory)

Thesis ,dissertation ,IS,term paper,Acadamic ,Essay, research,Article,academic,ป โท, ป เอก ,Phd,Master degree,วิทยานิพนธ์,หัวข้อ,ชื่อเรื่อง ,Journal,สารนิพนธ์,ปริญญานิพนธ์,ดุษฎีนิพนธ์,ปรึกษา,รับทำวิทยานิพนธ์,งาน วิจัย,บทความ,ตัวอย่าง,download
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วิทยานิพนธ์ ของ Arthur G (1972) ได้ศึกษาถึงทฤษฎีของกินซ์เบิร์ก (Ginzberg’s Theory) เป็นทฤษฏีที่เกี่ยวกับการเลือกอาชีพที่เป็นไปตาม การะบวนการทางศึกษา และวุฒิภาวะของบุคคล ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ในวัยเด็กไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้นทฤษฏีนี้จะแบ่งช่วงระยะเวลาของบุคคลในการเลือกอาชีพเป็น 3 ช่วงระยะเวลา ดังนี้

ช่วงระยะเวลาที่ 1 เรียกว่า ช่วงระยะเวลาความคิดเพ้อฝัน (Fantasy Period) ในช่วงเวลานี้ ความคิดความอ่าน เกี่ยวกับอาชีพของเด็กที่มีอายุไม่เกิน 10 ปี จะเป็นไปในลักษณะเพ้อฝันแบบเด็กๆ หรือการคิดจินตนาการต่างๆ

ช่วงระยะเวลาที่ 2 เรียกว่า ช่วงระยะเวลาขั้นการทดลอง (Tentative Period) ช่วงเวลานี้จะสามารถแบ่งเป็นระยะย่อยได้ 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 ขั้นความสนใจ (Interests) ในขั้นนี้ความสนใจของบุคคลเป็นปัจจัยที่สาคัญในการเลือกอาชีพ การเลือกอาชีพในขั้นนี้จึงขึ้นอยู่กับความสนใจของแต่ละบุคคล
ขั้นที่ 2 ขั้นความสามารถ (Capacity) การเลือกอาชีพของบุคคลในขั้นนี้จะคานึงถึงความสามารถของตนว่าจะสอดคล้องกับความสนใจอาชีพใดๆ หรือไม่ ดังนั้นในขั้นนี้ความสามารถของบุคคลจะเป็น สิ่งที่กาหนดการเลือกอาชีพของแต่ละบุคคล โดยที่บุคคลจะเลือกอาชีพที่ตรงกับความสามารถของตนเองมากที่สุด
ขั้นที่ 3 ขั้นค่านิยม (Values) ในขั้นนี้เป็นขั้นที่บุคคลซึ่งมีอายุอยู่ในระหว่าง 15 – 16 ปี จะเริ่มตระหนักถึง ความสาคัญของค่านิยมที่ตนมีอยู่ เช่น ค่านิยมที่เกี่ยวกับความมีอิสระในการทางาน การทาเงินรายได้ การมีเวลาว่างมากขึ้น การได้มีโอกาสเดินทางเป็นต้น บุคคลแต่ละคนจะเลือกงานที่สามารถสนองตอบค่านิยมของตนเป็นสาคัญ

ขั้นที่ 4 ขั้นการเปลี่ยนแปลง (Transition) ขั้นนี้เป็นขั้นที่จะมีการเปลี่ยนแปลงจากในช่วงระยะเวลาที่ 2 ไปสู่ช่วงระยะเวลาที่ 3 จะทาให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ และประมวลผลทางเลือกด้านต่างๆ ก่อนทาการตัดสินใจเลือกอาชีพ


ช่วงระยะเวลาที่ 3 เรียกว่า ช่วงระยะเวลาแห่งความเป็นจริง (Realistic Period) ในช่วงเวลานี้ได้แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่
ขั้นตอนที่ 1 ขั้นการสารวจ (Exploration) ในช่วงของขั้นการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายของช่วงระยะเวลาที่ 2 แล้วต่อด้วยขั้นตอนแรกของช่วงระยะเวลาที่ 3 คือ ขั้นการสารวจ จะเป็นขั้นตอนที่บุคคลได้ มีโอกาสเลือกอาชีพของตนอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะสอดคล้องกับคุณวุฒิภาวะที่มีมากขึ้น และโอกาสของการได้รับการศึกษาในวิทยาลัย ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่บุคคลเริ่มคานึงถึงโอกาสและข้อจากัดต่างๆ ตามความเป็นจริงในการเลือกอาชีพ เช่น ระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการศึกษา สาหรับอาชีพบางอาชีพ หรือความแตกต่างของรายได้ที่ได้รับระหว่างอาชีพต่างๆ ตลอดจนประโยชน์ และข้อเสียของอาชีพแต่ละอาชีพ เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นเริ่มเป็นรูปร่าง (Crystallization) ขั้นนี้เป็นขั้นที่บุคคลแต่ละคนสามารถที่จะทาการสังเคราะห์แรงกดดันต่างๆ จากทั้งภายในและภายนอก ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตัดสินในเลือกอาชีพของบุคคลเหล่านั้น ความกดดันในเรื่องของเวลาเป็นสิ่งที่บีบบังคับให้บุคคลจาเป็นต้องตัดสินใจเลือกอาชีพใดอาชีพหนึ่ง ภายในระยะเวลาอันจากัด แต่ก็มีบุคคลอีกเป็นจาวนมากที่จะพยายามประวิงเวลาในช่วงนี้ โดยลังเลใจเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกอาชีพ อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว แรงกดดันทางการศึกษา และการจ้างงานก็จะเป็นสิ่งที่บีบบังคับให้บุคคลจาเป็นต้องตัดสินใจ เลือกอาชีพในที่สุด
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นระบุชัดแจ้ง (Specification) ขั้นนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย บุคคลทุกคนจะต้องตัดสินในเลือกอาชีพของตน โดยระบุชัดแจ้งว่าจะประกอบอาชีพอะไร ในด้านใด เช่น การเลือก ทางานในธนาคารจากการมีความถนัดทางด้านคณิตศาสตร์ ทางานเป็นนักการฑูตจากการมีความถนัดทางด้านภาษา เป็นต้น