หน้าเว็บ

a

การประมาณค่าและการทดสอบสมมติฐานทางสถิติ (Hyperthesis)

<<<<<รับทำ spss
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


การประมาณค่าและการทดสอบสมมติฐานทางสถิติ
การประมาณค่า เป็นวิธีการอนุมานทางสถิติวิธีหนึ่ง เพื่อจะหาค่าที่คาดว่าน่าจะเป็นค่าของข้อมูลทั้งหมดหรือ
เรียกว่าค่าพารามิเตอร์ของประชากร โดยใช้ค่าของข้อมูลตัวอย่างที่เรียกว่าค่าสถิติ
การประมาณค่า คือ การประมาณค่าพารามิเตอร์ซึ่งเป็นลักษณะของประชากรโดยใช้ค่าสถิติของข้อมูล
ตัวอย่าง หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการประมาณค่าพารามิเตอร์ด้วยค่าสถิติ เช่น
ประมาณค่าเฉลี่ยประชากร (μ) ด้วยค่าเฉลี่ยตัวอย่าง ( x )
ประมาณค่าสัดส่วนหรือร้อยละ (π) ค่าสัดส่วนตัวอย่าง (p)
ประมาณค่าความแปรปรวนประชาการ (σ2)ด้วยค่าความแปรปรวนตัวอย่าง (s2)
การทดสอบสมมติฐานทางสถิติ เป็นวิธีการอนุมานทางสถิติวิธีหนึ่งที่ใช้ตรวจสอบสมมติฐานวิจัยที่ผู้วิจัยคาดเดา แต่การตรวจสอบนั้นจะไม่ทำกับสมมติฐานวิจัยโดยตรงแต่จะเป็นการตรวจสอบจากสมมติฐานทางสถิติที่ผู้ทดสอบตั้งขึ้นมาให้สอดคล้องกับสมมติฐานวิจัยและนำไปสรุปสมมติฐานวิจัย
หลักเกณฑ์การตั้งสมมติฐานทางสถิติ
สมมติฐานหลัก (H0) ต้องมีเครื่องหมายเท่ากับร่วมอยู่ด้วยหลักเกณฑ์ การปฏิเสธหรือยอมรับสมมติฐาน H0 การทดสอบค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าสัดส่วน และการทดสอบค่าความแปรปรวน ใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน
การทดสอบสมมติฐานค่าเฉลี่ยสำหรับ 1 กลุ่มตัวอย่าง
สมมติฐานแบบสองทาง
(Two-tails Test)

H0 : μ = μ0
H1 : μ ≠ μ0



แบบทางเดียว
(One-tails Test)

H0 : μ ≤ μ0
H1 : μ > μ0
การทดสอบสมมติฐานผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสำหรับ 2 กลุ่มตัวอย่าง
สมมติฐานแบบสองทาง
(Two-tails Test)
H0 : μ1 - μ2 = μ0
H1 : μ1 - μ2 ≠ μ0

แบบทางเดียว
(One-tails Test)

H0 : μ1 - μ2 ≤ μ0
H1 : μ1 - μ2 > μ0
การทดสอบสมมติฐานค่าเฉลี่ย
การทดสอบสมมติฐานค่าเฉลี่ยสำหรับ 1 กลุ่มตัวอย่าง
เป็นการศึกษาโดยการตรวจสอบว่าคุณลักษณะใดคุณลักษณะหนึ่งของข้อมูลเป็นไปตามที่คาดหวังหรือ
กำหนดไว้หรือไม่ โดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ย คุณลักษณะ เช่น อายุ รายได้ ระดับความพึงพอใจ ฯ ซึ่งถือว่าเป็นตัวแปรหนึ่งตัวแปร หรือเรียกได้ว่า การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ 1 ตัวแปร
ตัวแปรที่นำมาทดสอบต้องเป็นตัวแปรที่คำนวณได้ คือ ระดับช่วง อัตราส่วน ระดับเรียงอันดับ
ตัวสถิติที่ใช้ในการทดสอบ 2 ตัว
กรณีทราบการกระจาย (σ) ของข้อมูลประชากร ใช้ Z-Test
กรณีไม่ทราบการกระจาย (σ) ของข้อมูลประชากร แต่ทราบทราบการกระจายของข้อมูลตัวอย่าง
ใช้ T-Test สำหรับการวิจัยจะใช้ตัวนี้ เพราะเป็นการวิจัยจากข้อมูลตัวอย่าง

การทดสอบสมมติฐานผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสำหรับ 2 กลุ่มตัวอย่าง มี 2 กรณี
เป็นการทดสอบผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของลักษณะที่สนใจของ 2 กลุ่มตัวอย่างว่าแตกต่างกันหรือไม่
1. กรณีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน
2. กรณีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นแบบจับคู่
1. กรณีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน
เป็นการศึกษาเปรียบเทียบและตรวจสอบว่าคุณลักษณะใดคุณลักษณะหนึ่งของข้อมูลระหว่าง 2 กลุ่มมี
ความแตกต่างกันหรือไม่ และถ้าแตกต่างกันนั้นแตกต่างกันอย่างไร โดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ยของคุณลักษณะ
นั้นๆ
การทดสอบแบบนี้จัดอยู่ในประเภทของการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ 2 ตัวแปร (Bivariate data analysis)
เนื่องจากการทดสอบจะต้องใช้ตัวแปร 2 ตัว คือตัวแปรหนึ่งแทนคุณลักษณะอีกตัวแปรหนึ่งใช้แบ่งกลุ่ม
ข้อมูลตัวแปรคุณลักษณะ ต้องคำนวณได้ คือ ระดับช่วงและอัตราส่วน
ข้อมูลตัวแปรแบ่งกลุ่ม ต้องคำนวณไม่ได้ คือ Nominal, Ordinal
การทดสอบค่าเฉลี่ยของข้อมูล 2 กลุ่มแบบพาราเมตริก กรณี 2 กลุ่มเป็นอิสระต่อกัน
ข้อมูลที่จะทดสอบต้องมีคุณสมบัติที่สามารถใช้วิธีการการทดสอบแบบพาราเมตริก คือ ข้อมูลหรือ
ตัวแปรที่ต้องการทดสอบจะต้องมีการแจกแจงแบบปกติหรือใกล้เคียงแบบปกติ และสามารถ
คำนวณได้
คือตัวแปรระดับช่วงและอัตราส่วน
ตัวสถิติที่ใช้ทดสอบ
กรณีทราบการกระจายของข้อมูลของประชากรทั้ง 2 กลุ่ม (ทราบ σ1, σ2) ใช้ Z-Test
กรณีไม่ทราบการกระจายของข้อมูลของประชากรทั้ง 2 กลุ่ม (ไม่ทราบ σ1, σ2) ใช้ T-Test
ถ้าผู้วิจัยไม่ทราบการกระจายของข้อมูลทั้ง 2 ประชากร และไม่ทราบการกระจายแตกต่างกัน
หรือไม่ ให้
ใช้ข้อมูลตัวอย่างมาทดสอบเพื่อพิจารณาว่าการกระจายของข้อมูลประชากรมีความแตกต่างกัน
หรือไม่