หน้าเว็บ

a

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


กระบวนการ หรือขั้นตอนการวางแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                   การดำเนินงานใดๆ ก็ตามควรจะมีลำดับขั้นตอนและขั้นตอน  ทั้งนี้เพื่อให้                            งานมีประสิทธิภาพ  การวางแผนก็เช่นกันจำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่อง และมีกระบวนการลำดับขั้นตอนในการวางแผนประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
                           1.  การกำหนดวัตถุประสงค์  (Setting objectives)  เป็นงานอันดับแรกที่นักวางแผนจะดำเนินการ  ทั้งนี้เพื่อให้รู้ทิศทางที่จะก้าวเดินต่อไปข้างหน้า เพราะการวางแผนเป็นเรื่องของอนาคต  และเป็นพื้นฐานที่จะเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมอื่นๆ  ในองค์การสิ่งที่สำคัญที่จะต้องตระหนักในการวางแผนคือ  แผนที่จะวางมีความชัดเจน  ทั้งนี้เพื่อให้สมาชิกในองค์การเกิดความเข้าใจในทิศทางเดียวกันอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงาน และมีการประสานงาน
                           2.  พัฒนาข้อตกลงที่เป็นตัวกำหนดขอบเขตในการวางแผน (Developing  the planning premiso)  ผู้วางแผนจะต้องกำหนดข้อตกลงต่างๆ  ที่จะเป็นขอบเขตในการวางแผน      เพื่อสามารถคาดการณ์เหตุการณ์ต่างๆ  ในอนาคตได้อย่างถูกต้องใกล้เคียง  การกำหนดข้อตกลงเบื้องต้น จะนำมาเป็นพื้นฐานในการวางแผน  ขอบเขตและข้อตกลงต่างๆ  ที่เป็นผลมาจากข้อมูลและปัจจัยภายนอก  เช่นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้านเทคโนโลยี  การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม  เศรษฐกิจ  และการเมือง  ความรู้สึกของประชาชนนอกจากปัจจัยภายนอกแล้ว  การวางแผนจะต้องตระหนักถึงข้อมูลที่นำมาใช้เป็นกรอบในการวางแผนมีความเชื่อถือได้มากขึ้น
                           3.  พิจารณาข้อจำกัดต่างๆ  ที่อาจเกิดจากการวางแผน (Reviewing all possible  Limitations  on  planning)  ข้อจำกัดต่างๆมักเกิดขึ้นเสมอในการทำงานใดๆ ให้เหลือน้อยลง            สิ่งที่ควรนำมาพิจารณาคาดการณ์ในการวางแผนได้แก่  ขอบเขต  อำนาจหน้าที่  วัสดุอุปกรณ์ในการกำหนดแผนงานที่จะดำเนินการต่อไป
                           4.   พัฒนาทางเลือก  (Developing  Alternatives)  ในการวางแผนผู้วางแผนควรได้แสวงหาทางเลือกต่างๆ  ที่จะเป็นแนวทางในการดำเนินการตามแผนนั้นทราบบางครั้ง                การดำเนินการ  ตามแผนหนึ่งๆไม่ใช่มีแนวปฏิบัติแนวเดียวที่จะบรรลุความสำเร็จของแผนนั้น      แต่อาจมีแนวปฏิบัติหลายๆแนวที่สามารถไปถึงวัตถุประสงค์ของแผนนั้นได้เช่นกัน  ฉะนั้นผู้วางแผนจำเป็นต้องคิดถึงแนวทางต่างๆ หลายๆ แนวมากำหนดกิจกรรมในการวางแผน                        ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการพัฒนาความคิดของผู้วางแผนได้มีความหลากหลายตามข้อมูลต่างๆ  
                           5.  พัฒนาทางเลือก  (Evaluation  the  Alternativea)  การประเมินทางเลือกนี้ต้องการหลังจาก   ได้การพัฒนาทางเลือกต่างๆแล้ว  ผู้วางแผนจำเป็นต้องศึกษาปัจจัยต่างๆ  ของทางเอกชนแต่ละแนวประกอบว่าจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่ทางเลือกเหล่านี้จะทำให้องค์กรดำเนินไปแล้ว  จึงตัดสินใจเลือกทางเลือกที่เป็นไปได้สูงสุดเพียงวิธีเดียว  ฉะนั้นผู้วางแผนควรตัดสินใจเลือกทางเลือกสองแนวทางหรือมากกว่าและนำทางเลือกที่แล้วมาหลอมรวมกันเพื่อเป็นแผนที่จะเป็นไปได้มากที่สุดในการปฏิบัติ
                           6.  เปลี่ยนแปลงแผนสู่การปฏิบัติ (Converting Plan into Actions) ผู้วางแผนต้องทำการเปลี่ยนแปลงสู่การปฏิบัติที่ชัดเจนขึ้น  (กรมการปกครองและสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย)             
การจัดทำแผนพัฒนา  3  ปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                   ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง          ส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ได้ให้ความสำคัญกับการกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบ          การบริการสาธารณะระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และระหว่างองค์กรปกครอง          ส่วนท้องถิ่นด้วยตนเอง  รวมทั้งการจัดสรรสัดส่วนภาษีและอากรระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และให้ท้องถิ่นสามารถจัดทำบริการสาธารณะบางอย่างให้เป็นไปตามความต้องการ    และเป็นประโยชน์ของท้องถิ่นอย่างแท้จริง  ส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทหน้าที่อย่างกว้างขวาง และเป็นองค์กรเปิดให้ประชาคมท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร             และตรวจสอบการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น
                   ในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล  3  ปี  (พ.ศ.2552-2554)  เป็นการแปลงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลไปสู่การปฏิบัติ  เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขององค์กรปกครอง        ส่วนท้องถิ่นที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา  อันมีลักษณะเป็นการกำหนดรายละเอียดแผนงาน  โครงการพัฒนาที่จัดทำขึ้นสำหรับปีงบประมาณแต่ละปี  ซึ่งมีความต่อเนื่องและเป็นแผนก้าวหน้าครอบคลุมระยะยาว  3  ปี 
1.  ลักษณะของแผนพัฒนาสามปี
                   แผนพัฒนาสามปี  เป็นการแปลงยุทธศาสตร์การพัฒนาไปสู่การปฏิบัติ  โดยมีหลักคิดที่ว่า ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาหนึ่งๆ  จะมีแนวทางการพัฒนาได้มากกว่าหนึ่งแนวทาง                 และภายใต้แนวทางการพัฒนาหนึ่ง  จะมีโครงการ/ กิจกรรมได้มากกว่าหนึ่งโครงการ/กิจกรรม      ที่จะต้องนำมาดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามที่ต้องการ                       ในแต่ละยุทธศาสตร์การพัฒนา  ซึ่งจะมีผลต่อวัตถุประสงค์  เป้าหมาย จุดมุ่งหมายการพัฒนา            อย่างยั่งยืนและวิสัยทัศน์ในที่สุด
                    นอกจากนั้น  แผนพัฒนาสามปีเป็นแผนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับงบประมาณรายจ่ายประจำปี  กล่าวคือ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ใช้การวางแผนเป็นเครื่องมือในการจัดทำ       งบประมาณรายจ่ายประจำปี  โดยนำโครงการ/กิจกรรมจากแผนพัฒนาสามปี  ในปีที่จะจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี   ไปจัดทำงบประมาณ เพื่อให้การจัดทำงบประมาณเป็นไป ด้วยความรอบคอบ และผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน