หน้าเว็บ

a

การเปิดรับข่าวสาร

Thesis ,dissertation ,IS,term paper,Acadamic ,Essay, research,Article,academic,ป โท, ป เอก ,Phd,Master degree,วิทยานิพนธ์,หัวข้อ,ชื่อเรื่อง ,Journal,สารนิพนธ์,ปริญญานิพนธ์,ดุษฎีนิพนธ์,ปรึกษา,รับทำวิทยานิพนธ์,งาน วิจัย,บทความ,ตัวอย่าง,download

รับทำวิทยานิพนธ์
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ในการเปิดรับข่าวสารใดๆก็ตาม ผู้รับสารจะมีกระบวนการเลือกรับข่าวสารที่แตกต่างกันไปตามประสบการณ์ ตามความต้องการ ความเชื่อ ทัศนคติ ตามความรู้สึกนึกคิด และแรงจูงใจของผู้รับสาร ที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งกระบวนการรับสาร ประกอบด้วยการกลั่นกรอง 3 ขั้น ดังนี้ (Klapper, 1960)
                1. การเลือกเปิดรับ (Selective Exposure)
                แนวโน้มที่ผู้รับสารจะเลือกสนใจหรือเปิดรับข่าวสารที่สอดคล้องกับความคิดเห็นหรือความสนใจเดิมที่มีอยู่ และพยายามที่จะหลีกเลี่ยงข่าวสารที่ไม่สอดคล้องกับทัศนคติและความคิดเห็นเดิมของตน ทั้งนี้เพราะการได้รับข่าวสารที่ไม่สอดคล้องกับความรู้ ความเข้าใจ หรือทัศนคติที่มีอยู่เดิม ก่อให้เกิดภาวะความไม่สมดุลทางจิตใจ (Cognitive Dissonance) โดยบุคคลอาจจะลดภาวะความไม่สมดุลนี้ ด้วยการแสวงหาข่าวสารที่สอดคล้องกับความคิดของตนเอง เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์แล้ว ย่อมมีความต้องการอย่างยิ่งที่จะปกป้องรักษาและส่งเสริมความคิดของตนเอง (Self-concept) นอกจากนั้น การเลือกเปิดรับสื่อยังขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น ระดับการศึกษา รายได้ รวมทั้งศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรมด้วย
                2. การเลือกรับรู้ (Selective Perception)
                เป็นกระบวนการกลั่นกรองชั้นต่อมา เมื่อบุคคลเลือกเปิดรับข่าวสารจากแหล่งใดแหล่งหนึ่ง ผู้ส่งสารไม่สามารถคาดเดาได้ว่า สารที่ส่งไปสู่ผู้รับนั้นจะได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่ ผู้รับสารแต่ละคนอาจตีความหมายข่าวสารชิ้นเดียวกันที่ส่งผ่านสื่อมวลชนไม่ตรงกัน ความหมายของข่าวสารที่ส่งไปจึงไม่ได้อยู่ที่ตัวอักษร รูปภาพหรือคำพูด แต่อยู่ที่ผู้รับสารที่จะเลือกรับรู้ตามประสบการณ์ ความเชื่อ ความคาดหวัง แรงจูงใจ สภาวะร่างการ หรือสภาวะอารมณ์ในขณะนั้น เป็นต้น อย่างเช่น ในการชมรายการโทรทัศน์ของบุคคลโดยทั่วไป จะเห็นว่า จะเลือกชมเพียงบางรายการหรือบางช่องที่ตนสนใจเท่านั้น และผู้รับสารอาจจะเลือกบิดเบือนข่าวสารให้เป็นไปตามที่ตนเองพอใจ เพื่อให้สอดคล้องกับทัศนคติ และความสนใจที่มีอยู่เดิม
                3. การเลือกจดจำ (Selective Retention)
                เป็นแนวโน้มในการเลือกจดจำข่าวสารเฉพาะส่วนที่ตรงกับความสนใจ ความต้องการ ทัศนคติ ความชอบ ตลอดจนค่านิยมของตนเองและมักจะลืมในส่วนที่ตนเองไม่สนใจ หรือเรื่องที่ขัดแย้งกับความคิดเห็นของตนเอง ดังนั้นการเลือกจดจำเนื้อหาของสารที่ได้รับ จึงเป็นการช่วยเสริมทัศนคติหรือความเชื่อเดิมของผู้รับสารให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น
               พฤติกรรมการเลือกรับข่าวสารของผู้รับสาร แสดงให้เห็นว่า ผู้รับสารมีความกระตือรือร้น (Active Audience) ในการเปิดรับสื่อและเลือกใช้สื่อ และไม่ได้เป็นผู้รับสารที่เฉื่อยชา (Passive Audience) ที่รอรับสารทุกประเภทที่สื่อมวลชนส่งมาให้เพียงฝ่ายเดียว