หลักและวิธีการเขียนบทนำ
บทที่หนึ่งของเอกสารการวิจัยเป็นบทนำ
เขียนเพื่อเสนอประเด็นปัญหาการวิจัยและการตีกรอบปัญหาการวิจัยให้ชัดเจน
ประกอบด้วยความเป็นมาของปัญหาการวิจัยและความสำคัญ วัตถุประสงค์การวิจัย
ขอบเจตการวิจัย สมมุติฐานการวิจัย
คำนิยามศัพท์เฉพาะและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
1.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาเป็นหัวข้อแรกของบทนำ
มีจุดประสงค์เพื่อบอกถึงปัญหาการวิจัยครั้งนี้ คือ อะไร
1.1 รูปแบบการเขียน ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัยเขียนให้ประกอบด้วย(ก)แนวคิดเชิงทฤษฎี(ข)สภาพปัจจุบัน(ค)
ปัญหาที่เกิดขึ้นและ(ง)ความสำคัญของปัญหานั้น
ตัวอย่างเช่น
ภาษาเป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้ แต่ในปัจจุบันนักเรียนยังอ่านหนังสือไม่ออก ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาว่า
นักเรียนมีความสามารถทางการอ่านในระดับใด เพื่อจะได้ใช้เป็นแนวทางในการแก้ไข
การวิจัยครั้งนี้จะทำให้ทราบระดับความสามารถในการอ่านของนักเรียนและจะเป็นแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการอ่านของนักเรียนในโรงเรียนต่อไป
จากตัวอย่างข้างบน
สามารถวิเคราะห์ตามรูปแบบได้ดังนี้
ความเป็นมาและความสำคัญ
|
ตัวอย่าง
|
หลักการหรือแนวคิด
|
ภาษาเป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้
|
สภาพปัจจุบัน
|
ปัจจุบันนักเรียนยังอ่านหนังสือไม่ออก
|
ปัญหาที่เกิดขึ้น
|
นักเรียนมีความสามารถทางการอ่านในระดับใด
|
ความสำคัญของปัญหา
|
ทราบระดับความสามารถในการอ่านของนักเรียน
เป็นแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการอ่าน
|
1.2 หลักการเขียน
การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัยมีหลักการทั่วไปดังนี้
(ก)
เขียนจากแนวกว้างไปสู่แคบจนถึงปัญหาการวิจัย
(ข) ระบุปัญหาการวิจัยในรูปคำถามหรือประโยคบอกเล่าก็ได้
(ค) เขียนให้มีการอ้างอิงข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้า
(ง)
เขียนให้เห็นความสำคัญเชิงประโยชน์หรือเชิงโทษที่จะได้รับ
(จ) เขียนความยาวประมาณ 3-5 กระดาษ
2.วัตถุประสงค์การวิจัย
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นหัวที่สองของบทนำ
มีจุดประสงค์เพื่อบ่งบอกถึงคำถามที่ต้องการได้คำตอบตามปัญหาการวิจัยครั้งนี้ คือ
อะไรบ้าง
2.1 รูปแบบการเขียน วัตถุประสงค์ของการวิจัยเขียนให้ประกอบด้วยวิธีศึกษา
ประเด็นย่อยในประเด็นหลักหลักและขอบเขตประชากร
พื้นที่หรือเวลา
ตัวอย่างเช่น
การวิจัยเรื่อง
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการเรียนกับผลการ
สอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยของผู้สมัครสอบ
ประจำปี 2548
นักวิจัยสามารถเขียนวัตถุประสงค์การวิจัยได้ดังนี้
(ก)เพื่อศึกษาปัจจัยทางการเรียนกับผลการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยของผู้สมัครสอบ
ประจำปี 2548
(ข).เพื่อศึกษาผลการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยของผู้สมัครสอบ
ประจำปี 2548
(ค).เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการเรียนกับผลการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยของผู้สมัครสอบ
ประจำปี 2548
จากตัวอย่างข้างบน
สามารถวิเคราะห์ตามรูปแบบได้ดังนี้
ชื่อเรื่อง
|
วัตถุประสงค์
|
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการเรียนกับผลการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยของผู้สมัครสอบ
ประจำปี 2548
|
1.เพื่อศึกษาปัจจัยทางการเรียนกับผลการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยของผู้สมัครสอบ
2.เพื่อศึกษาผลการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยของผู้สมัครสอบ
3.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการเรียนกับผลการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยของผู้สมัครสอบ
|
2.2 หลักการเขียน การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัยมีหลักการทั่วไปดังนี้
(ก) เขียนเป็นข้อๆประมาณ
3-5
ข้อ
(ข) เขียนให้อยู่ในกรอบของชื่อเรื่องการวิจัย
(ค)
เขียนให้ขึ้นต้นด้วยคำว่า ‘เพื่อ....’
(ง) อาจเขียนในรูปประโยคคำถามได้
3.สมมุติฐานการวิจัย
สมมุติฐานการวิจัยเป็นหัวที่สามของบทนำ
มีจุดประสงค์เพื่อเสนอคำตอบของคำถามการวิจัยที่แสดงไว้ในหัวข้อวัตถุประสงค์ของการวิจัย
3.1 .รูปแบบการเขียน
สมมุติฐานการวิจัยเขียนให้เป็นคำตอบของวัตถุประสงค์หรือคำถามการวิจัย
ตัวอย่างเช่น
การวิจัยเรื่อง
การเปรียบเทียบผลการเจริญเติบโตของต้นถั่วลิสงจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมี นักวิจัยได้เสนอสมมุติฐานการวิจัยได้ดังนี้
1.
ต้นถั่วลิสงที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีความสูง
1.59 ฟุต
2.
ต้นถั่วลิสงที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมีมีความสูง
1.94 ฟุต
3.
ต้นถั่วลิสงที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์สูงกว่าที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมี
จากตัวอย่างข้างบน สามารถวิเคราะห์ตามรูปแบบได้ดังนี้
วัตถุประสงค์การวิจัย
|
สมมุติฐานการวิจัย
|
1.เพื่อศึกษาความสูงของต้นถั่วลิสงที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์
2.เพื่อศึกษาความสูงของต้นถั่วลิสงที่ใช้ปุ๋ยเคมี
3.เพื่อศึกษาความสูงของต้นถั่วลิสงจากการใช้ปุ๋ย2 ชนิด
|
1.ต้นถั่วลิสงที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีความสูง 1.59 ฟุต
2.ต้นถั่วลิสงที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมีมีความสูง 1.94 ฟุต
3.ต้นถั่วลิสงที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์สูงกว่าต้นถั่วลิสงที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมี
|
3.2 หลักการเขียน การเขียนสมมุติฐานการวิจัยมีหลักการทั่วไปดังนี้
(ก) เขียนเป็นข้อๆประมาณ
3-5
ข้อ
(ข) เขียนให้สอดคล้องและเป็นคำตอบของวัตถุประสงค์การวิจัย
(ค) เขียนให้มีทิศทางที่สามารถทดสอบได้ด้วยข้อมูลจากการวิจัย
(ง) เขียนให้ชัดตรวจสอบได้
ไม่ใช้คำว่า ประมาณ
4.ขอบเขตการวิจัย
ขอบเขตการวิจัยของการวิจัยเป็นหัวที่สี่ของบทนำ
มีจุดประสงค์เพื่อกำหนดขอบเขตของการวิจัยครั้งนี้ให้จำเพาะเจาะจง
ว่าสิ่งใดต้องการวิจัยและสิ่งใดที่ไม่ต้องการวิจัย
4.1 .รูปแบบการเขียน
ขอบเขตการวิจัยเขียนให้ประกอบด้วย 5 เรื่อง คือขอบเขตเกี่ยวกับประเด็นหลักในชื่อเรื่อง
ขอบเขตเกี่ยวกับประชากรในการวิจัย .ขอบเขตเกี่ยวกับพื้นที่ที่ใช้วิจัย .ขอบเขตเกี่ยวกับเวลาที่ทำวิจัย
และขอบเขตเกี่ยวกับตัวแปร
ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่อง
การวิเคราะห์ผลตอบแทนของการปลูกแตงโมนอกฤดูกาล นักวิจัยได้เขียนขอบเขตการวิจัยไว้ดังนี้
(ก.การวิจัยนี้ศึกษาต้นทุน
รายได้และผลตอบแทนของการปลูกแตงโมนอกฤดูกาลเฉพาะประเภทที่คิดได้เป็นตัวเงินเท่านั้น
ทั้งนี้ไม่ศึกษาถึงผลตอบแทนการปลูกแตงโมในฤดูกาล
(ข)การวิจัยครั้งนี้ศึกษากับแตงโมพันธุ์จินตหลาและพันธุ์บอมเบย์จากเมล็ดพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำพันธุ์ให้เกษตรกรปลูกเท่านั้น
ไม่รวมถึงแตงโมพันธุ์พื้นเมืองหรือพันธุ์อื่น
(ค).การทดลองปลูกแตงโมดำเนินการที่จังหวัดราชบุรี
ครอบคลุมพื้นที่ 3
อำเภอ
คืออำเภอจอมบึง อำเภอสวนผึ้ง และอำเภอบ้านโป่ง
(ง).การวิจัยนี้ดำเนินการทดลองปลูกแตงโมนอกฤดูกาล
ระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน ปี พ.ศ.2546
(จ).ในการวิจัยมีตัวแปรต้น
ได้แก่ ฤดูกาล และตัวแปรตามได้แก่
ผลตอบแทนในการปลูกแตงโม
จากตัวอย่างข้างบน
สามารถวิเคราะห์ตามรูปแบบได้ดังนี้
ชื่อเรื่องและขอบเขต
|
การวิเคราะห์ผลตอบแทนของการปลูกแตงโมนอกฤดูกาล
|
ด้านเนื้อหา
|
ผลตอบแทน
ต้นทุน รายได้
|
ด้านประชากร
|
พันธุ์จินตหลาและพันธุ์บอมเบย์
|
ด้านพื้นที่
|
จังหวัดราชบุรี
|
ด้านเวลา
|
ปี พ.ศ.2546
|
ด้านตัวแปร
|
ตัวแปรต้น ฤดูกาล
ตัวแปรตาม ผลตอบแทน
|
4.2 หลักการเขียน
การเขียนขอบเขตการวิจัยมีหลักการทั่วไปดังนี้
(ก)
เขียนเป็นข้อๆหรืออาจเขียนพรรณนาก็ได้
(ข) เขียนให้ขยายความขอบเขตที่ระบุไว้ในชื่อเรื่องการวิจัย
(ค) เขียนโดยใช้คำที่แสดงถึงขอบเขต
เช่น คำว่า ‘ศึกษาเฉพาะ’
’ครอบคลุมถึง’ หรือ ’ไม่รวมถึง’ หรือจบด้วย
‘เท่านั้น’
5.คำนิยามศัพท์เฉพาะ
คำนิยามศัพท์เฉพาะเป็นหัวที่หกของบทนำ
มีจุดประสงค์เพื่อสื่อสารคำและข้อความที่ใช้ในการวิจัยนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงกัน
ทำให้เกิดความชัดเจนในต่างๆ
5.1 รูปแบบการเขียน คำนิยามศัพท์เฉพาะเขียนให้เป็นนิยามปฏิบัติการของตัว
แปรที่สังเกต
วัดและประเมินได้ โดยนิยามปฏิบัติการ
ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่อง
การเปรียบเทียบผลการเจริญเติบโตของต้นถั่วลิสง
จากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมี นักวิจัยเขียนนิยามคำศัพท์สำคัญดังนี้
1.การเจริญเติบโตของพืช
หมายถึง ความสูงของต้นถั่วจากพื้นดินถึงปลายยอด
2.ปุ๋ยอินทรีย์
หมายถึง ปุ๋ยที่ผลิตชึ้นจากผลิตถัณฑ์ของพืชหรือสัตว์
3.ปุ๋ยเคมี หมายถึง ปุ๋ยที่ผลิตขึ้นโดยดระบวนการทางอุตสาหกรรม
จากตัวอย่างข้างบน
สามารถวิเคราะห์ตามรูปแบบได้ดังนี้
วัตถุประสงค์การวิจัย
|
นิยามคำเฉพาะศัพท์
|
1.เพื่อศึกษาความสูงของต้นถั่วลิสงที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์
2.เพื่อศึกษาความสูงของต้นถั่วลิสงที่ใช้ปุ๋ยเคมี
3.เพื่อศึกษาความสูงของต้นถั่วลิสงจากการใช้ปุ๋ย2
ชนิด
|
1.การเจริญเติบโตของพืช หมายถึง ความสูงของต้นถั่วจากพื้นดินถึงปลายยอด
2.ปุ๋ยอินทรีย์ หมายถึง ปุ๋ยที่ผลิตชึ้นจากผลิตภัณฑ์ของพืชหรือสัตว์
3.ปุ๋ยเคมี หมายถึง ปุ๋ยที่ผลิตขึ้นโดยกระบวนการทางอุตสาหกรรม
|
5.2 หลักการเขียน การเขียนคำนิยามศัพท์มีหลักการทั่วไปดังนี้
(ก) เขียนให้สอดคล้องกับแนวความคิดทางทฤษฎี
(ข) เขียนตามให้เป็นนิยามปฏิบัติการที่สังเกตหรือวัดได้
(ค) เขียนให้ชี้นำไปสู่การวัดค่าตัวแปรได้
6.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของการวิจัยเป็นหัวสุดท้ายของบทนำ
มีจุดประสงค์เพื่อเสนอแนวทางให้เห็นผลผลิตของการวิจัยและประโยชน์ที่เกิดจากการนำผลผลิตไปใช้งาน
6.1 รูปแบบการเขียน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเขียนให้ประกอบด้วยผลผลิตและประโยชน์
ตัวอย่างเช่น การวิจัยเรื่อง
การวิเคราะห์ผลตอบแทนของการปลูกแตงโมนอกฤดูกาล นักวิจัยเขียนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของการวิจัย
ดังนี้
(ก)ได้ทราบผลตอบแทนของการปลูกแตงโมนอกฤดูกาล
(ข).เป็นแนวทางในการส่งเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรใน
อนาคต
จากตัวอย่างข้างบน
สามารถวิเคราะห์ตามรูปแบบได้ดังนี้
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
|
ตัวอย่าง
|
ผลผลิต
|
ได้ทราบผลตอบแทน
|
ประโยชน์
|
เป็นแนวทางในการส่งเสริม
|
6.2 หลักการเขียน การเขียนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับมีหลักการทั่วไปดังนี้
(ก) เขียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
(ข) เขียนให้สอดคล้องกับความสำคัญของปัญหาการวิจัย
------------------------------------------------------------------------------------------------