หน้าเว็บ

a

การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (Coporate Social Responsibility)


 
Phillip Kotler และ Nancy Lee (2005:23) ให้คำนิยามของความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร  ซึ่งเขียนไว้ในหนังสือ Coporate Social Responsibility: Doing The Most Good For Your Company and Your Cause ว่า  คือ ความรับผิดชอบในการปรับปรุงความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของสังคมจากการดำเนินธุรกิจ  รวมถึงการอุทิศทรัพยากรของบริษัทให้โดยสมัครใจ  ไม่ได้ถูกควบคุมด้วยกฎหมาย  หรือข้อบังคับใดๆ  ซึ่งหมายรวมถึงสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม  เป็นกิจกรรมหลักที่ดำเนินการโดยบริษัท  เพื่อสนับสนุนประเด็นทางสังคม และทำให้พันธะสัญญาในความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร
รูปแบบการดำเนินกิจกรรมการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร
            Phillip Kotler (2005:23) ได้จำแนกรูปแบบของความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ไว้ทั้งหมด 6 รูปแบบด้วยกัน  ดังนี้
 1. การส่งเสริมการรับรู้ประเด็นปัญหาทางสังคม (Cause Promotion) เป็นการจัดหาเงินทุน วัสดุสิ่งของ หรือทรัพยากรอื่นขององค์กร เพื่อขยายการรับรู้และความห่วงใยต่อประเด็นปัญหาทางสังคมนั้น ตลอดจนสนับสนุนการระดมทุน การมีส่วนร่วม หรือการเฟ้นหาอาสาสมัครเพื่อการดังกล่าว
2. การตลาดที่เกี่ยวโยงกับประเด็นทางสังคม (Cause-Related Marketing) เป็นการอุดหนุนหรือการบริจาครายได้ส่วนหนึ่งจากการขายผลิตภัณฑ์เพื่อช่วย เหลือหรือร่วมแก้ไขประเด็นปัญหาทางสังคมจำเพาะหนึ่งๆ ซึ่งมักมีช่วงเวลาที่จำกัดแน่นอน หรือดำเนินการแบบจำเพาะผลิตภัณฑ์ หรือให้แก่การกุศลที่ระบุไว้เท่านั้น
3. การตลาดเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาสังคม (Corporate Social Marketing) เป็นการสนับสนุนการพัฒนาหรือการทำให้เกิดผลจากการรณรงค์เพื่อเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมในด้านสาธารณสุข ด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อม หรือด้านสุขภาวะ ความแตกต่างสำคัญระหว่างการตลาดเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาสังคมกับการส่งเสริมการรับรู้ประเด็นปัญหาทางสังคมตลอดจนการสนับสนุนทรัพยากรด้านทุนและอาสาสมัครเพื่อให้รับรู้ถึงประเด็น ปัญหาดังกล่าว
4. การบริจาคเพื่อการกุศล (Corporate Philanthropy) เป็นการช่วยเหลือไปที่ประเด็นปัญหาทางสังคมโดยตรง ในรูปของการบริจาคเงินหรือวัตถุสิ่งของ เป็นกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรที่พบเห็นในแทบทุกองค์กรธุรกิจ
5. การอาสาช่วยเหลือชุมชน (Community Volunteering) เป็นการสนับสนุนหรือจูงใจให้พนักงาน คู่ค้าร่วมสละเวลาและแรงงานในการทำงานให้แก่ชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่และเพื่อ ตอบสนองต่อประเด็นปัญหาทางสังคมที่องค์กรให้ความสนใจหรือห่วงใย
6. การประกอบธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม (Socially Responsible Business Practices) เป็นการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจอย่างพินิจพิเคราะห์ทั้งในเชิงป้องกันด้วยการ หลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม หรือในเชิงร่วมกันแก้ไขด้วยการช่วยเหลือเยียวยาปัญหาทางสังคมนั้นๆ ด้วยกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อการยกระดับสุขภาวะของชุมชนและการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม โดยที่องค์กรธุรกิจสามารถที่จะดำเนินการเอง หรือเลือกที่จะร่วมมือกับพันธมิตรภายนอกก็ได้

ผลกระทบจากความเครียด


Thesis ,dissertation ,IS,term paper,Acadamic ,Essay, research,Article,academic,ป โท, ป เอก ,Phd,Master degree,วิทยานิพนธ์,หัวข้อ,ชื่อเรื่อง ,Journal,สารนิพนธ์,ปริญญานิพนธ์,ดุษฎีนิพนธ์,ปรึกษา,รับทำวิทยานิพนธ์,งาน วิจัย,บทความ,ตัวอย่าง,download

รับทำวิทยานิพนธ์
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Farmer, Monahan and Hakeler (1984) ได้กล่าวถึงผลกระทบจากความเครียดในการทำงานซึ่งสามารถแสดงออกได้หลายด้าน ดังนี้
 1. ด้านจิตใจ จะมีอาการเศร้าซึม หดหู่ รู้สึกว่าตนไม่มีคุณค่า อารมณ์อ่อนไหว และอาจถึงขั้นมีอาการประสาทหลอน มีอารมณ์แปรปรวน
 2. ด้านร่างกาย จะมีความดันโลหิตสูงขึ้น ใจสั่น ชีพจรหรือหัวใจเต้นเร็ว ปวดศีรษะ กล้ามเนื้อตึง มือเท้าเย็น
 3. ด้านพฤติกรรม จะพบผลผลิต หรือคุณภาพของงานลดลง มีแนวโน้มทำงานผิดพลาดหรือตัดสินใจผิด เอาใจใส่งานน้อยลง ขาดความคิดสร้างสรรค์ ขาดงาน ลาป่วยบ่อย สูบบุหรี่ หรือดื่มสุราเพิ่มมากขึ้น
Kahn and Byosier (1992) กล่าวว่า ผลกระทบของความเครียดในการทำงานได้ทำลายระบบภูมิคุ้นกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง จนอาจก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ซึ่งแบ่งได้ 3 ลักษณะ ได้แก่
 1. ความเครียดด้านร่างกาย เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นทางด้านร่างกาย เช่น ใจสั่น ปากคอแห้ง มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อต่างๆ
 2.  ความเครียดด้านจิตใจ เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นทางด้านจิตใจ เช่น อาการหงุดหงิด กระวนกระวาย สับสน
 3.  ความเครียดด้านพฤติกรรม เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเป็นผลที่ได้รับมาจากทางร่างกาย และจิตใจอันส่งผลมาสู่ทางด้านพฤติกรรม เช่น วางตัวไม่เหมาะสม การตัดสินใจและการเรียนรู้เสียไป คุณภาพของงานลดลง มาทำงานสาย แยกตัวจากสังคมและครอบครัว
 Robbins (2000) แบ่งลักษณะของผลของความเครียดที่แสดงออกเป็น 3 ทาง ดังนี้
 1.ทางร่างกาย โดยมากอาการเครียดจะแสดงออกทางร่างกาย จากลักษณะดังกล่าวทำให้การศึกษาผลของความเครียดส่วนใหญ่ดำเนินการโดยผู้มีความชำนาญด้านสุขภาพ มีการวิจัยพบว่า ความเครียดสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบเมตาบอลิซึมในร่างกายได้ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการหายใจเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น ปวดศีรษะและนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจ
 2.ทางจิตใจ ความเครียดทำให้เกิดความไม่พึงพอใจ และความเครียดในการทำงานสามารถทำให้เกิดความไม่พึงพอใจในงานเช่นกัน ความเครียดส่งผลทางจิตใจแสดงออกในรูปแบบของความรู้สึกถูกกดดัน มีความวิตกกังวล โกรธง่าย เบื่อหน่าย และเลื่อนลอย
 3.ทางพฤติกรรม เมื่อบุคคลเกิดความเครียดจะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง เช่น การบริโภคเปลี่ยนแปลง สูบบุหรี่และดื่มสุรามากขึ้น พูดเร็ว และนอนหลับยาก เมื่อบุคคลมีความเครียดจากการทำงานจะเกิดพฤติกรรม คือความสามารถในการทำงานลดลง ผลงานไม่ดี ขาดงานและเปลี่ยนที่ทำงานบ่อย

การเปิดรับข่าวสาร

Thesis ,dissertation ,IS,term paper,Acadamic ,Essay, research,Article,academic,ป โท, ป เอก ,Phd,Master degree,วิทยานิพนธ์,หัวข้อ,ชื่อเรื่อง ,Journal,สารนิพนธ์,ปริญญานิพนธ์,ดุษฎีนิพนธ์,ปรึกษา,รับทำวิทยานิพนธ์,งาน วิจัย,บทความ,ตัวอย่าง,download

รับทำวิทยานิพนธ์
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ในการเปิดรับข่าวสารใดๆก็ตาม ผู้รับสารจะมีกระบวนการเลือกรับข่าวสารที่แตกต่างกันไปตามประสบการณ์ ตามความต้องการ ความเชื่อ ทัศนคติ ตามความรู้สึกนึกคิด และแรงจูงใจของผู้รับสาร ที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งกระบวนการรับสาร ประกอบด้วยการกลั่นกรอง 3 ขั้น ดังนี้ (Klapper, 1960)
                1. การเลือกเปิดรับ (Selective Exposure)
                แนวโน้มที่ผู้รับสารจะเลือกสนใจหรือเปิดรับข่าวสารที่สอดคล้องกับความคิดเห็นหรือความสนใจเดิมที่มีอยู่ และพยายามที่จะหลีกเลี่ยงข่าวสารที่ไม่สอดคล้องกับทัศนคติและความคิดเห็นเดิมของตน ทั้งนี้เพราะการได้รับข่าวสารที่ไม่สอดคล้องกับความรู้ ความเข้าใจ หรือทัศนคติที่มีอยู่เดิม ก่อให้เกิดภาวะความไม่สมดุลทางจิตใจ (Cognitive Dissonance) โดยบุคคลอาจจะลดภาวะความไม่สมดุลนี้ ด้วยการแสวงหาข่าวสารที่สอดคล้องกับความคิดของตนเอง เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์แล้ว ย่อมมีความต้องการอย่างยิ่งที่จะปกป้องรักษาและส่งเสริมความคิดของตนเอง (Self-concept) นอกจากนั้น การเลือกเปิดรับสื่อยังขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น ระดับการศึกษา รายได้ รวมทั้งศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรมด้วย
                2. การเลือกรับรู้ (Selective Perception)
                เป็นกระบวนการกลั่นกรองชั้นต่อมา เมื่อบุคคลเลือกเปิดรับข่าวสารจากแหล่งใดแหล่งหนึ่ง ผู้ส่งสารไม่สามารถคาดเดาได้ว่า สารที่ส่งไปสู่ผู้รับนั้นจะได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่ ผู้รับสารแต่ละคนอาจตีความหมายข่าวสารชิ้นเดียวกันที่ส่งผ่านสื่อมวลชนไม่ตรงกัน ความหมายของข่าวสารที่ส่งไปจึงไม่ได้อยู่ที่ตัวอักษร รูปภาพหรือคำพูด แต่อยู่ที่ผู้รับสารที่จะเลือกรับรู้ตามประสบการณ์ ความเชื่อ ความคาดหวัง แรงจูงใจ สภาวะร่างการ หรือสภาวะอารมณ์ในขณะนั้น เป็นต้น อย่างเช่น ในการชมรายการโทรทัศน์ของบุคคลโดยทั่วไป จะเห็นว่า จะเลือกชมเพียงบางรายการหรือบางช่องที่ตนสนใจเท่านั้น และผู้รับสารอาจจะเลือกบิดเบือนข่าวสารให้เป็นไปตามที่ตนเองพอใจ เพื่อให้สอดคล้องกับทัศนคติ และความสนใจที่มีอยู่เดิม
                3. การเลือกจดจำ (Selective Retention)
                เป็นแนวโน้มในการเลือกจดจำข่าวสารเฉพาะส่วนที่ตรงกับความสนใจ ความต้องการ ทัศนคติ ความชอบ ตลอดจนค่านิยมของตนเองและมักจะลืมในส่วนที่ตนเองไม่สนใจ หรือเรื่องที่ขัดแย้งกับความคิดเห็นของตนเอง ดังนั้นการเลือกจดจำเนื้อหาของสารที่ได้รับ จึงเป็นการช่วยเสริมทัศนคติหรือความเชื่อเดิมของผู้รับสารให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น
               พฤติกรรมการเลือกรับข่าวสารของผู้รับสาร แสดงให้เห็นว่า ผู้รับสารมีความกระตือรือร้น (Active Audience) ในการเปิดรับสื่อและเลือกใช้สื่อ และไม่ได้เป็นผู้รับสารที่เฉื่อยชา (Passive Audience) ที่รอรับสารทุกประเภทที่สื่อมวลชนส่งมาให้เพียงฝ่ายเดียว

กองทุนรวม (Fund)


กลุ่มอุตสาหกรรมบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม มีผลิตภัณฑ์หลายประเภทให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเลือกลงทุนในกองทุนรวม สามารถแบ่งตามประเภทของกองทุนรวมตามลักษณะการแบ่งตามการขายคืนหน่วยลงทุนและแบ่งตามนโยบายการลงทุน ดังนี้
                 1  ผลิตภัณฑ์ที่แบ่งตามการขายคืนหน่วยลงทุน
 1  กองทุนปิด (Closed-End Fund) เป็นกองทุนที่ซื้อมีการซื้อขายครั้งแรก (Initial Public Offering) และถือไปจนครบกำหนดอายุจึงขายคืนได้
 2 กองทุนเปิด (Open-End Fund) สามารถซื้อขายหน่วยลงทุนได้ตามกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวนหน่วยลงทุน เช่น ทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน ทุกไตรมาสหรือทุก 6 เดือน
                 2  ผลิตภัณฑ์ที่แบ่งตามนโยบายการลงทุน
 1  กองทุนรวมทั่วไป
    1.1.กองทุนรวมตราสารทุน (Equity Fund) นโยบายการลงทุนจะลงทุนในหุ้นไม่น้อยกว่า 65% ดังนั้นเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงกว่ากองทุนประเภทอื่น เหมาะสำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงสูงได้
    1.2 กองทุนรวมตราสารหนี้ (General Fixed Income Fund) นโยบายลงทุนในตราสารแห่งหนี้หรือเงินฝากโดยห้ามลงทุนในหุ้น ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงน้อยกว่ากองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในตราสารทุน เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้น้อยกว่า สามารถแบ่งตามระยะเวลาการลงทุนดังนี้
- กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น (Short-term fixed income fund) มีนโยบายการลงทุน จะลงทุนในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล และเงินฝากที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี เป็นต้น
-  กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะยาว (Long-term fixed income fund) มีนโยบายการลงทุน จะลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุเฉลี่ยมากกว่า 1 ปี เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงต่ำและสามารถลงทุนระยะยาวได้
    1.3 กองทุนรวมผสม (Mixed Fund) เป็นกองทุนรวมที่เป็นการผสมผสานระหว่างตราสารทุนและตราสารหนี้ แบ่งออกเป็น
-            กองทุนรวมผสม (Balanced Fund) มีนโยบายการลงทุน จะลงทุนในหุ้นไม่เกิน 65% และอีก 35% ลงทุนในตราสารอื่น ๆ เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลาง
-            กองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่น (Flexible Portfolio Fund) มีนโยบายลงทุนที่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจและดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนรวม ตามความเหมาะสมและสถานการณ์ จึงอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลาง
                                    1.4  กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Fund) มีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งสิทธิการเช่า เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ลงทุนระยะยาว และยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลาง
2  กองทุนรวมพิเศษ
    1 กองทุนรวมมีประกัน (Guarantee Fund) เป็นกองทุนรวมที่มีบุคคลอื่นประกันว่า หากผู้ถือหน่วยลงทุนถือครบกำหนด ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับชำระเงินลงทุน หรือเงินทุนและผลตอบแทนจากการขายหน่วยลงทุนคืนตามจำนวนเงินที่ประกันไว้
    กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund) นโยบายการลงทุนจะนำเงินจากการขายหน่วยลงทุนในประเทศไปลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งอาจเป็นตราสารหนี้ ตราสารทุน หน่วยลงทุน หรือตราสารทางการเงินอื่นๆ
    กองทุนรวมที่ให้สิทธิทางภาษี
-            กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF-Retirement Mutual Fund) เป็นเครื่องมือหนึ่งในการสะสมเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณ ที่ทางการให้การสนับสนุนสิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ลงทุนเพื่อเป็นแรงจูงใจ นโยบายการลงทุนมีให้เลือกหลากหลายเหมือนกองทุนรวมทั่วไปเหมาะกับคนทุกกลุ่มที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ
-            กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF-Long Term Equity Fund) เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหุ้นไม่น้อยกว่า 65% เหมาะกับคนทุกกลุ่มที่ต้องการลงทุนในหุ้นระยะยาว แต่ต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี